โครงการ Zero Burning Initiative
ขับเคลื่อนสังคม ปลอดการเผา
เพื่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่ดีของทุกชีวิต
ผ่านเกษตรฟื้นฟูและระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน
เพราะเราใส่ใจกับชีวิตไร้ฝุ่น PM 2.5
เราเชื่อว่าอากาศที่สะอาดคือสิทธิขั้นพื้นฐานของทุกชีวิต โครงการ Zero Burning Initiative เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่าง Central Tham และ Chitose Group โดยมีแนวคิดขับเคลื่อนสังคมไทยสู่ “สังคมปลอดการเผา” อย่างยั่งยืน เรามุ่งลดการเผาในที่โล่งทั้งในภาคเกษตร และป่าไม้ ผ่านการส่งเสริมวนเกษตร โดยมุ่งเน้นไปยังชุมชนบนพื้นที่สูง โดยเริ่มที่ อ.แม่แจ่ม จ. เชียงใหม่ สร้างงาน สร้างอาชีพ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อรับมือกับวิกฤตสภาวะอากาศ และ “ชีวิตไร้ฝุ่น” ที่ไม่ใช่เพียงแค่เป้าหมาย แต่คือการสร้างอนาคตของทุกชีวิตที่มาพร้อมกับคุณภาพสิ่งแวดล้อมและชีวิตที่ดียิ่งขึ้นอย่างยั่งยืน


เส้นทางสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
เริ่มต้นด้วยการเชิญชวนเกษตรกรมาปรับเปลี่ยนสู่การปลูกพืชเศรษฐกิจ กำไรสูง ด้วยวิถีออร์แกนิค ที่ช่วยฟื้นฟูผืนดินให้อุดมสมบูรณ์ และปลูกผลผลิตที่ทนต่อสภาวะอากาศ มุ่งเน้นการบริหารจัดการกับเศษชีวมวล หรือ เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ทำให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยไม่จำเป็นต้องเผาทิ้ง นำมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่า เช่น ถ่านไบโอชาร์และปุ๋ยหมัก ที่สามารถใช้กันเองในชุมชนเกษตรกรหรือจำหน่ายได้ ถือเป็นทั้งการสร้างรายได้หมุนเวียน และการลดมลพิษ และในท้ายที่สุดคือการเชื่อมต่อผลผลิตกับช่องทางการจำหน่ายในโมเดิร์นเทรด และผลักดันพื้นที่สู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยว เพื่อสร้างรายได้อย่างยั่งยืนให้แก่ชุมชน
ผลผลิตออร์แกนิก จากฟาร์มสู่จานของคุณ











สัญลักษณ์การันตี โครงการ
Zero Burning Initiative
โลโก้โครงการ Zero Burning Initiative ได้รับแรงบันดาลใจจากต้นไม้และก้อนเมฆ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงสิ่งแวดล้อม และอากาศที่สะอาด ให้คุณมั่นใจได้ว่าผลผลิตจากโครงการนี้ ผลิตด้วยกระบวนการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชด้วยหลักวนเกษตร ปลอดการเผา บริหารจัดการวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรด้วยหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนสร้างรายได้อย่างยั่งยืนเพื่อชุมชน

คืนชีวิตให้ผืนดิน เกษตรกร และคนรุ่นต่อไป
“ ตั้งแต่ได้เข้าร่วมกับโครงการ Zero Burning Initiative เลยได้เข้ามาลองปลูกผลผลิตที่ให้กำไรสูงอย่างกะหล่ำปลี มะเขือเทศ ต้นหอมญี่ปุ่น และ ได้เรียนรู้เรื่องการจัดการเศษวัสดุในไร่แบบที่ดีกับสิ่งแวดล้อมด้วย เรานำเศษวัสดุทางการเกษตรมาหมักเป็นปุ๋ย ผลลัพธ์ที่ได้คือดินดีขึ้น พืชแข็งแรงขึ้น ที่สำคัญคือพอเรามีช่องทางจำหน่ายผลผลิตเหล่านี้ เราก็มีรายได้เพิ่มขึ้นเยอะเลยค่ะ พอเห็นผลลัพธ์แบบนี้มันทำให้เราเห็นว่าเกษตรแบบยั่งยืนคือทางออกจริงๆ และยังได้ส่งต่ออาชีพ และสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับคนรุ่นต่อไปด้วย ”
เป้าหมายของเรา









